การใช้ภาษาขึ้นอยู่กับกาลเทศะ สถานการณ์
สภาวะแวดล้อม และสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ซึ่งอาจแบ่งภาษาเป็นระดับต่างๆได้หลายลักษณะ เช่น (ภาษาระดับที่เป็นแบบแผนและไม่เป็นแบบแผน),(ภาษาระดับพิธีการ ระดับกึ่งพิธีการ ระดับไม่เป็นทางการ) ในชั้นเรียนนี้ เราจะชี้ลักษณะสำคัญของภาษาเป็น ๕ ระดับ ดังนี้
๑. ระดับพิธีการ
ใช้สื่อสารกันในที่ประชุมที่จัดขึ้นอย่างเป็นทางการ ได้แก่ การประชุมรัฐสภา
การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ การกล่าวรายงานในพิธีมอบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร
การกล่าวสดุดีหรือการกล่าวเพื่อจรรโลงใจให้ประจักษ์ในคุณความดี การกล่าวปิดพิธี
เป็นต้น ผู้ส่งสารระดับนี้มักเป็นคนสำคัญสำคัญหรือมีตำแหน่งสูง
ผู้รับสารมักอยู่ในวงการเดียวกันหรือเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่
สัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารมีต่อกันอย่างเป็นทางการ
ส่วนใหญ่ผู้ส่งสารเป็นผู้กล่าวฝ่ายเดียว ไม่มีการโต้ตอบ
ผู้กล่าวมักต้องเตรียมบทหรือวาทนิพนธ์มาล่วงหน้าและมักนำเสนอด้วยการอ่านต่อหน้าที่ประชุม
๒. ภาษาระดับทางการ
ใช้บรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการในที่ประชุมหรือใช้ในการเขียนข้อความที่ปรากฏต่อสาธารณชนอย่างเป็นทางการ
หนังสือที่ใช้ติดต่อกับทางราชการหรือในวงธุรกิจ
ผู้ส่งสารและผู้รับสารมักเป็นบุคคลในวงอาชีพเดียวกัน
ภาษาระดับนี้เป็นการสื่อสารให้ได้ผลตามจุดประสงค์โดยยึดหลักประหยัดคำและเวลาให้มากที่สุด
๓. ภาษาระดับกึ่งทางการ คล้ายกับภาษาระดับทางการ
แต่ลดความเป็นงานเป็นการลงบ้าง
เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารซึ่งเป็นบุคคลในกลุ่มเดียวกัน
มีการโต้แย้งหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นระยะๆ
มักใช้ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว
บทความในหนังสือพิมพ์ เนื้อหามักเป็นความรู้ทั่วไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
กิจธุระต่างๆ รวมถึงการปรึกษาหารือร่วมกัน
๔. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ
ภาษาระดับนี้มักใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลไม่เกิน ๔-๕ คนในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว อาจจะเป็นบุคคลที่คุ้นเคยกัน
การเขียนจดหมายระหว่างเพื่อน การรายงานข่าวและการเสนอบทความในหนังสือพิมพ์
โดยทั่วไปจะใช้ถ้อยคำสำนวนที่ทำให้รู้สึกคุ้นเคยกันมากกว่าภาษาระดับทางการหรือภาษาที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม
เนื้อหาเป็นเรื่องทั่วๆไป ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
กิจธุระต่างๆรวมถึงการปรึกษาหารือหรือร่วมกัน
๕. ภาษาระดับกันเอง
ภาษาระดับนี้มักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิท
สถานที่ใช้มักเป็นพื้นที่ส่วนตัว เนื้อหาของสารไม่มีขอบเขตจำกัด
มักใช้ในการพูดจากัน ไม่นิยมบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรยกเว้นนวนิยายหรือเรื่องสั้นบางตอนที่ต้องการความเป็นจริง (การแบ่งภาษาดังที่กล่าวมาแล้วมิได้หมายความว่าแบ่งกันอย่างเด็ดขาด
ภาษาระดับหนึ่งอาจเหลื่อมล้ำกับอีกระดับหนึ่งก็ได้)
ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับความลดหลั่นตามระดับภาษา
๑. ภาษาที่ใช้ในระดับพิธีการ
ระดับทางการและระดับกึ่งทางการ คำสรรพนามที่ใช้แทนตนเอง(สรรพนามบุรุษที่
๑) มักใช้ กระผม ผม ดิฉัน ข้าพเจ้า
คำสรรพนามที่ใช้แทนผู้รับสาร(สรรพนามบุรุษที่ ๒) มักจะใช้ ท่าน ท่านทั้งหลาย ส่วนภาษาระดับที่ไม่เป็นทางการและระดับกันเอง
ผู้ส่งสารจะใช้สรรพนาม ผม ฉัน ดิฉัน กัน เรา หนู ฯลฯ หรืออาจใช้คำนามแทน เช่น นิด
ครู หมอ แม่ พ่อ พี่ ป้า ฯลฯ
๒. คำนาม
คำนามหลายคำเราใช้เฉพาะในภาษาระดับกึ่งทางการ
ระดับไม่เป็นทางการและระดับกันเองเท่านั้น
หากนำไปใช้เป็นภาษาระดับทางการจะต่างกันออกไป เช่น โรงจำนำ>สถานธนานุเคราะห์ โรงพัก>สถานีตำรวจ หมู>สุกร ควาย>กระบือ รถเมล์>รถประจำทาง หมา>สุนัข เป็นต้น
๓. คำกริยา คำกริยาที่แสดงระดับภาษาต่างๆอย่างเห็นได้ชัด
เช่น ตาย อาจใช้ ถึงแก่กรรม เสีย ล้ม กิน อาจใช้ รับประทาน บริโภค
๔. คำวิเศษณ์ บางคำใช้คำขยายกริยา
มักใช้ในระดับภาษาไม่เป็นทางการและระดับกันเองหรืออาจใช้ในภาระดับกึ่งราชการก็ได้
คำวิเศษณ์เหล่านี้มักเป็นมักเป็นคำบอกลักษณะหรือแสดงความรู้สึก เช่น เปรี้ยวจี๊ด
เย็นเจี๊ยบ วิ่งเต็มเหยียด ฟาดเต็มเหนี่ยว เยอะแยะ ภาษาระดับทางการขึ้นมีใช้บ้าง
เช่น เป็นอันมาก มาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น